การเสียชีวิต ของ วาเลรี เลกาซอฟ

หลุมฝังศพของศาสตราจารย์วาเลรี เลกาซอฟ ที่สุสานโนโวเดวิชีในมอสโก

วันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2531, หนึ่งวันหลังจากวันครบรอบ 2 ปีของ อุบัติเหตุโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เชอร์โนบิล และหนึ่งวันก่อนที่เขาจะประกาศผลการสอบสวนสาเหตุการระเบิด เลกาซอฟได้ฆ่าตัวตายด้วยการ แขวนคอ (บางแหล่งข่าวว่ากระทำในอพาร์ตเมนต์ หรือบันได อีกส่วนนึงบอกว่าที่ห้องทำงาน ) ปืนพกส่วนตัวยังคงอยู่ในลิ้นชัก แต่เลกาซอฟเลือกที่จะแขวนคอตัวเอง เขาถูกฝังที่สุสานโนโวเดวิชีในมอสโก

นี่ไม่ใช่ความพยายามฆ่าตัวตายครั้งแรกของเลกาซอฟ [7] เดวิด อาร์ มาร์เพิลส์ ได้คาดว่าภัยพิบัติเชอร์โนบิลเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อจิตใจของเลกาซอฟจนนำไปสู่การฆ่าตัวตาย ก่อนที่เขาจะฆ่าตัวตาย[5] เลกาซอฟเขียนเอกสารที่เปิดเผยข้อเท็จจริงเกี่ยวกับภัยพิบัติที่ยังไม่เปิดเผยก่อนหน้านี้ อ้างอิงจากการวิเคราะห์การบันทึกสำหรับภาพยนตร์โทรทัศน์ของ บีบีซี เชอร์โนปิลแห่งนิวเคลียร์หายนะ [8] เลกาซอฟอ้างว่ามีแรงกดดันทางการเมืองให้ปกปิดรายงานบางส่วนของรายงานที่จะส่งให้ IAEA ซึ่งเป็นความลับที่ปกปิดกับแม้แต่ผู้ประกอบการโรงไฟฟ้า จากทั้งอุบัติเหตุครั้งก่อนหน้าและปัญหาเกี่ยวกับการออกแบบเครื่องปฏิกรณ์ [9] แถลงการณ์ของนักวิทยาศาสตร์ปรมาณู ยังระบุด้วยว่า เลกาซอฟกลายเป็นคนที่ไม่สนใจภาพลักษณ์ของรัฐบาล แต่พร้อมจะเผชิญหน้ากับปัญหาของโรงไฟฟ้าหรือข้อบกพร่องในการออกแบบเท่านั้น [10]

ใกล้เคียง

แหล่งที่มา

WikiPedia: วาเลรี เลกาซอฟ http://www.apnewsarchive.com/1988/Chemist-Investig... //doi.org/10.1080%2F00963402.1993.11456385 https://legasovtapetranslation.blogspot.com/ https://books.google.com/?id=e5t5DwAAQBAJ&pg=PA352... https://books.google.com/books?id=G_FVAAAAYAAJ https://books.google.com/books?id=JJqvCwAAQBAJ https://books.google.com/books?id=UoPVBgAAQBAJ https://books.google.com/books?id=Y3MJq8w8sKsC https://books.google.com/books?id=byrvAAAAMAAJ https://books.google.com/books?id=pQwAAAAAMBAJ&pg=...